หมากรุกไทย กติกา วิธีการเล่น วิธีการเดิน - พื้นฐานการเล่นหมากรุกไทย
เพื่อนๆ หลายคนคงเคยเห็นหรือเคยได้ลองเล่นหมากรุกไทยกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่กำลังคิดจะหัดเล่นหมากรุกคงคิดว่า ต้องเล่นยากแน่ๆ เลย วันนี้ทางเกมหมากรุกขั้นเทพจะพาทุกคนไปทำความรู้จักพื้นฐานการเล่นหมากรุกไทยให้มากขึ้นกันดีกว่า
อุปกรณ์สำหรับการเล่นหมากรุกไทย
กระดานหมากรุก
- จำนวนช่อง: 8x8 ช่อง
- ขนาดช่อง: ขนาดมาตรฐานช่องละ 5x5 ซม. (ขนาดช่องอาจแตกต่างกันออกไปตามขนาดของกระดาน)
- ลักษณะกระดาน: นิยมใช้สีเดียวกันในทุกช่องหรือบางกระดานอาจมีการสลับสีเหมือนกระดานหมากรุกสากล
ตัวหมาก
- จำนวนหมาก: 32 ตัว (แบ่งเป็นฝั่งละ 16 ตัว)
- สีของตัวหมาก: ฝั่งหนึ่งสีขาว อีกฝั่งสีแดงหรือดำ
- ประเภทของตัวหมาก: ขุน (1 ตัว), โคน (2ตัว), เม็ด (1ตัว), ม้า (2ตัว), เรือ (2ตัว), เบี้ย (8 ตัว)
ตำแหน่งการจัดวางตัวหมากเพื่อเริ่มเล่น
- ขุนขาว ตั้งตำแหน่ง ง1 | ขุนดำ ตั้งตำแหน่ง จ8
- เรือขาว ตั้งตำแหน่ง ก1 และ ญ1 | เรือดำ ตั้งตำแหน่ง ก8 และ ญ8
- ม้าขาว ตั้งตำแหน่ง ข1 และ ช1 | ม้าดำ ตั้งตำแหน่ง ข8 และ ช8
- โคนขาว ตั้งตำแหน่ง ค1 และ ฉ1 | โคนดำ ตั้งตำแหน่ง ค8 และ ฉ8
- เม็ดขาว ตั้งตำแหน่ง จ1 | เม็ดดำ ตั้งตำแหน่ง ง8
- เบี้ยขาว วางเรียงอยู่แนวที่ 3 | เบี้ยดำ วางเรียงอยู่แนวที่ 6
วิธีเดินหมาก
วิธีเดินของขุน
ขุน หรือหัวใจหลักของทีม สามารถเดินได้ 8 ช่อง รอบตัว เดินได้ทีละ 1 ช่อง โดยขุนจะไม่สามารถถูกกินได้
วิธีเดินของเม็ด
เม็ด เป็นหมากที่สามารถเดินได้ในแนวทะแยง เดินได้ทีละ 1 ช่อง
วิธีเดินของโคน
โคน ลักษณะการเดินคล้ายเม็ด แต่จะเพิ่มการเดินหน้าเข้ามา เดินได้ทีละ 1 ช่อง
วิธีเดินของม้า
ม้าลักษณะการเดินเป็นรูปตัว L เป็นหมากเพียงตัวเดียวในเกมที่สามารถเดินข้ามหมากตัวอื่นได้
วิธีเดินของเรือ
เรือ เป็นหมากที่มีความอันตรายมากที่สุดของหมากรุกไทย โดยสามารถเดินจากขอบกระดานหนึ่งไปอีกขอบกระดานหนึ่งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
วิธีเดินของเบี้ย
เบี้ย เปรียบเสมือนทหารแนวหน้าของสนามรบ โดยจะเดินเป็นเส้นตรงทีละ 1 ช่อง แต่การกินหมากจะต้องกินในแนวทแยงหน้าตัวเอง
เมื่อเบี้ยเดินไปถึงตำแหน่งเบี้ยอีกฝั่งเบี้ยจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีคุณสมบัติเหมือนเม็ดทุกประการ
กติกาพื้นฐานของการเล่นหมากรุกไทย
1. การเล่นหมากรุกไทยจะสลับกันเดินคนละ 1 ตา
2. โดยฝั่งที่ได้สีขาวจะเป็นฝั่งเริ่มเดินก่อนเสมอ
3. เมื่อเราทำการวางตัวหมากของเราทับช่องของตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม ตัวหมากตัวนั้นจะต้องถูกนำออกจากเกมแล้วจะถือว่าเรากินหมากตัวนั้นแล้ว
4. เมื่อเราวางหมากในตำแหน่งที่ตาเดินต่อไปของเราจะกินขุนได้นั้นจะเรียกว่าการรุก ซึ่งฝ่ายตรงข้ามนั้นต้องขยับขุนหนีไม่ก็กินหมากของเราที่กำลังรุกอยู่
5. เกมจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าฝั่งใดฝั่งหนึ่งจะถูกรุกจนหรือเข้ากฎต่างๆ ของเกม